เมนู

จตุตถปาราชิกวรรณนา


พระศาสดา ผู้ทรงรู้แจ้งสัจจะทั้ง 4
ทรงประกาศ จตุตถปาราชิกใดไว้แล้ว, บัด
นี้ มาถึงลำดับสังวรรณนาแห่งจตุตถปารา-
ชิกนั้นแล้ว ; เพราะเหตุนั้น คำใดที่จะพึงรู้
ได้ง่าย และคำที่ข้าพเจ้าได้ประกาศแล้วใน
เบื้องต้น, สังวรรณนานี้ แห่งจตุตถปาราชิก
แม้นั้น จะเว้นคำนั้น ๆ เสีย.

[เรื่องภิกษุพวกจำพรรษาริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา]
คำว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ ฯ เป ฯ
คิหีนํ กมฺมนฺตํ อธิฏเฐม
ความว่า พวกเราจงช่วยกันอำนวยกิจการที่ควร
ทำ ในนาและในสวนเป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์เถิด. มีคำอธิบายว่า พวกเรา
จงบอก และจงพร่ำสอนว่า พวกท่านควรทำอย่างนี้ ไม่ควรทำอย่างนี้
บทว่า ทูเตยฺยํ ได้แก่ การงานของทูต.
บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรมที่ล่วงเลยพวกมนุษย์
ไป. อธิบายว่า ธรรมที่ล่วงเลยพวกมนุษย์ไปให้ลุถึงความเป็นพรหม หรือ
พระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิง คือ บุรุษผู้
ประเสริฐสุด ซึ่งเป็นผู้ได้ฌาน และเป็นพระอริยเจ้า.
ในคำว่า อสุโก ภิกฺขุ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากับตนอย่างนั้นแล้ว ภายหลัง เมื่อกล่าวแก่พวกคฤหัสถ์พึงทราบว่า

ได้กล่าวสรรเสริญด้วยอำนาจแห่งชื่อทีเดียว อย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อพุทธรักขิต
ได้ปฐมฌาน ชื่อธรรมรักขิต ได้ทุติยฌานดังนี้เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น ข้อว่า เอโสเยว โข อาวุโส เสยฺโย
ความว่า การช่วยอำนวยกิจการ และการนำข่าวสาส์นไปด้วยความเป็นทูต มี
ข้าศึกมาก มีการแข่งดีกันมาก ทั้งเป็นของไม่สมควรแก่สมณะ , ส่วนข้อที่พวก
เราพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้นแล เป็นสิ่งที่
น่าสรรเสริญกว่า คือ ยอดเยี่ยมกว่าได้แก่ ดีกว่ากิจทั้งสองนั้น เป็นไหนๆ. ท่าน
กล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? กล่าวไว้ว่า ข้อที่พวกเราจักพากันกล่าวชมอุตริมนุส-
ธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ ผู้ถามถึง หรือผู้มิได้ถามถึงภิกษุผู้นั่งพัก
อิริยาบถอยู่หรือโดยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้นนี้ ได้ปฐมฌาน นี้แลประ
เสริฐที่สุด.

[อธิบายศัพท์กิริยาอนาคต]


ก็ เมื่อความสัมพันธ์ด้วยกิริยาอนาคต ไม่มี ภิกษุเหล่านั้น จักกล่าว
ชมคุณนั้น ในขณะนั้นไม่ได้เลย, เพราะเหตุนั้น เนื้อความที่ท่านมิได้แต่ง
ปาฐะที่เหลือ กล่าวไว้ว่า ภาสิโต ภวิสฺสโต จึงไม่ถูก ; เพราะฉะนั้น ใน
บทว่า ภาสิโต นี้ บัณฑิตควรทำไห้มีความสัมพันธ์ด้วยกิริยาอนาคต แล้ว
พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า คุณอย่างใด จักเป็นสิ่งที่พวกเรากล่าวชมอย่างนั้น
คุณอย่างนั้นต้องประเสริฐที่สุด. แต่นักศึกษา ควรแสวงหาลักษณะจากคัมภีร์
ศัพทศาสตร์.
สองบทว่า วณฺณวา* อเหสุํ ความว่า วรรณะแห่งสรีระที่ใหม่เอี่ยม
อย่างอื่นนั่นแล เกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น ได้เป็นผู้มีน้ำนวล
ด้วยวรรณะนั้น
//* บาลีเป็น วณฺณวนฺโต